โรคเกลื้อนรักษาอย่างไร
โรคเกลื้อนรักษาอย่างไร
วันนี้เราจะมาให้ความรู้ด้านโรคผิวหนังกันค่ะ ซึ่งโรคที่จะมาแชร์ความรู้ให้กันวันนี้เป็นโรคที่เกิดจาก การใสเสื้อผ้าอับชื้น หรือจาการที่ออกกำลังกายและมีเหงื่อออกมามากๆ
โรคที่ว่านั่นคือโรคเกลื้อน นั่นเองค่ะ โรคเกลื้อนเป็นโรคเชื้อราในกลุ่มในยีสต์ชนิดหนึ่ง มักจะไม่ค่อยมีอาการ แต่จะเป็นเรื้อรัง ซึ่งจะพบทั่วไปในผิวคนปกติ พบมากในบริเวณ หน้าอก หลัง ใบหน้า
อาการของโรค
อาการของโรคจะเป็นมากเมื่อมีเหตุชักนำ หรือส่งเสริมเชื้อที่มีอยู่ในธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปเช่น ผิวหนังมัน เหงื่อออกมาก การใส่เสื้อผ้าอับชื้น หรือไปเล่นกีฬา โดยเป็นผื่นราบ สีขาว เป็นขุย อาจมีหลายสี เช่น สีดำ หรือน้ำตาลแดง โรคสามารถหายเองโดยไม่ต้องรักษา เป็นได้ทุกเพศทุกวัย
วิธีการรักษา
การรักษาจะเน้นการป้องกันถึงสาเหตุที่ไม่ทำให้เกิดโรค สำหรับยาทาแนะนำให้ใช้ 20% โซเดียมไทโอซัลเฟต ซึ่งเป็นยาน้ำ หรืออาจใช้ยาทาซึ่งทำให้เซลล์ผิวหนังชั้นนอกที่มีเชื้อราหลุดออกไป เช่น ขี้ผึ้งวิดฟิลล์ ยังรวมถึง
การรักษาเสริมโดยใช้แชมพูเซลซันฟอก ฟอกทั้งตัวทิ้งไว้ 15-30 นาที หลังจากนั้นล้างออก โดยใช้ทาตัวเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ และควรทาซ้ำประมาณ 1-2 ครั้งทุกเดือนเพื่อป้องกัน แพทย์อาจให้ยารับประทานทั้งรักษาและป้องกันซึ่งควรให้แพทย์ผิวหนังเป็นผู้ดูแล
ป้องกัน เชื้อราที่ผิวหนัง ได้อย่างไร
โรคเชื้อราที่ผิวหนัง หรือ โรคกลาก เป็นโรคที่เกิดจาก เชื้อราที่ผิวหนังในกลุ่มเดอมาโทไฟท์ (Dermatophytes) ที่เจริญเติบโตได้ดีในประเทศเขตร้อนชื้น เช่น ประเทศไทย ซึ่งอาการของโรค จะมีลักษณะเป็นวงแดงหรือขุยขาวตามบริเวณต่างๆของผิวหนัง และอาจมีอาการอักเสบร่วมด้วย
สาเหตุของ เชื้อราที่ผิวหนัง
สาเหตุเชื้อราที่ผิวหนังเกิดจาก เชื้อราที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม ลุกลามเข้าไปที่เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว โดยสัมผัสจากเชื้อราที่มาจากสิ่งแวดล้อมโดยตรง
วิธีการรักษา
การรักษาเชื้อราที่ผิวหนัง ต้องอธิบายก่อนว่า โรคเชื้อราที่ผิวหนังไม่สามารถหายได้เอง โดยต้องมาพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย วิเคราะห์ว่าเป็นเชื้อราประเภทไหน โดยเอาชิ้นเนื้อไปตรวจ แล้วเพาะเชื้อ ซึ่งการรักษามีแบบทั้งรับประทานยาและการใช้ยาทา
วิธีป้องกันโรคเชื้อราที่ผิวหนัง
1.รักษาความสะอาดของร่างกายและดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเสมอ
2.ทำความสะอาดสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวันให้สะอาด
3. ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยที่เป็นเชื้อรา
4. ใช้ยาตามคำแนะนำแพทย์อย่างเคร่งครัด
เพียงทำตามข้อปฏิบัติดังกล่าว ก็จะทำให้เราปลอดภัยจาก โรคเชื้อราที่ผิวหนัง หากท่านใดมีข้อสงสัย สามารถสอบถามได้ที่ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพมหานคร ได้ทุกวันค่ะ
ที่มาข้อมูล: honestdocs.co
สถาบันโรคผิวหนัง
วันนี้เราจะมาให้ความรู้ด้านโรคผิวหนังกันค่ะ ซึ่งโรคที่จะมาแชร์ความรู้ให้กันวันนี้เป็นโรคที่เกิดจาก การใสเสื้อผ้าอับชื้น หรือจาการที่ออกกำลังกายและมีเหงื่อออกมามากๆ
โรคที่ว่านั่นคือโรคเกลื้อน นั่นเองค่ะ โรคเกลื้อนเป็นโรคเชื้อราในกลุ่มในยีสต์ชนิดหนึ่ง มักจะไม่ค่อยมีอาการ แต่จะเป็นเรื้อรัง ซึ่งจะพบทั่วไปในผิวคนปกติ พบมากในบริเวณ หน้าอก หลัง ใบหน้า
อาการของโรค
อาการของโรคจะเป็นมากเมื่อมีเหตุชักนำ หรือส่งเสริมเชื้อที่มีอยู่ในธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปเช่น ผิวหนังมัน เหงื่อออกมาก การใส่เสื้อผ้าอับชื้น หรือไปเล่นกีฬา โดยเป็นผื่นราบ สีขาว เป็นขุย อาจมีหลายสี เช่น สีดำ หรือน้ำตาลแดง โรคสามารถหายเองโดยไม่ต้องรักษา เป็นได้ทุกเพศทุกวัย
วิธีการรักษา
การรักษาจะเน้นการป้องกันถึงสาเหตุที่ไม่ทำให้เกิดโรค สำหรับยาทาแนะนำให้ใช้ 20% โซเดียมไทโอซัลเฟต ซึ่งเป็นยาน้ำ หรืออาจใช้ยาทาซึ่งทำให้เซลล์ผิวหนังชั้นนอกที่มีเชื้อราหลุดออกไป เช่น ขี้ผึ้งวิดฟิลล์ ยังรวมถึง
การรักษาเสริมโดยใช้แชมพูเซลซันฟอก ฟอกทั้งตัวทิ้งไว้ 15-30 นาที หลังจากนั้นล้างออก โดยใช้ทาตัวเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ และควรทาซ้ำประมาณ 1-2 ครั้งทุกเดือนเพื่อป้องกัน แพทย์อาจให้ยารับประทานทั้งรักษาและป้องกันซึ่งควรให้แพทย์ผิวหนังเป็นผู้ดูแล
ป้องกัน เชื้อราที่ผิวหนัง ได้อย่างไร
โรคเชื้อราที่ผิวหนัง หรือ โรคกลาก เป็นโรคที่เกิดจาก เชื้อราที่ผิวหนังในกลุ่มเดอมาโทไฟท์ (Dermatophytes) ที่เจริญเติบโตได้ดีในประเทศเขตร้อนชื้น เช่น ประเทศไทย ซึ่งอาการของโรค จะมีลักษณะเป็นวงแดงหรือขุยขาวตามบริเวณต่างๆของผิวหนัง และอาจมีอาการอักเสบร่วมด้วย
สาเหตุของ เชื้อราที่ผิวหนัง
สาเหตุเชื้อราที่ผิวหนังเกิดจาก เชื้อราที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม ลุกลามเข้าไปที่เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว โดยสัมผัสจากเชื้อราที่มาจากสิ่งแวดล้อมโดยตรง
วิธีการรักษา
การรักษาเชื้อราที่ผิวหนัง ต้องอธิบายก่อนว่า โรคเชื้อราที่ผิวหนังไม่สามารถหายได้เอง โดยต้องมาพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย วิเคราะห์ว่าเป็นเชื้อราประเภทไหน โดยเอาชิ้นเนื้อไปตรวจ แล้วเพาะเชื้อ ซึ่งการรักษามีแบบทั้งรับประทานยาและการใช้ยาทา
วิธีป้องกันโรคเชื้อราที่ผิวหนัง
1.รักษาความสะอาดของร่างกายและดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเสมอ
2.ทำความสะอาดสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวันให้สะอาด
3. ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยที่เป็นเชื้อรา
4. ใช้ยาตามคำแนะนำแพทย์อย่างเคร่งครัด
เพียงทำตามข้อปฏิบัติดังกล่าว ก็จะทำให้เราปลอดภัยจาก โรคเชื้อราที่ผิวหนัง หากท่านใดมีข้อสงสัย สามารถสอบถามได้ที่ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพมหานคร ได้ทุกวันค่ะ
ที่มาข้อมูล: honestdocs.co
สถาบันโรคผิวหนัง