อย่ามอง คอเรสเตอรอล เป็นตัวร้าย

อย่ามอง คอเรสเตอรอลเป็นตัวร้าย

เมื่อพูดถึงคอเรสเตอรอล หลายคนอาจมองว่าเป็น
ผู้ร้าย แต่ความจริงแล้ว คอเรสเตอรอลไม่ได้ผู้ร้ายอย่างที่คนเข้าใจกัน วันนี้เราจะมาแชร์ความรู้
เรื่องคอเรสเตอรอลกันค่ะ 



คอเรสเตอรอล คืออะไร

คอเรสเตอรอล เป็นสารชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นกึ่งของแข็งและกึ่งของเหลว สามารถพบได้ในอาหาร
และพบได้ในเซลล์ภายในอวัยวะภายในร่างกาย

การสร้างคอเรสเตอรอลให้แก่ร่างกาย
มีทั้งหมด 2 แบบคือ

ร่างกายสร้างเองและจากการรับประทานอาหารโดยปกติร่างกายของเรานั้นคลอเรสเตอรอล
สามารถสร้างเองได้จาก ตับ ไขสันหลัง สมองและผนังหลอดเลือดแดง ซึ่งร่างกายสามารถ
สังเคราะห์ได้วันละ 80 - 1500 มิลิกรัมส่วนคอเรสเตอรอลที่สร้างจากการ
รับประทานอาหารนั้น พบได้จากอาหารที่มาจากสัตว์

คอเลสเตอรอล มีหน้าที่และความสำคัญอย่างไร

  • คอเรสเตอรอลมีองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย

  • คอเรสเตอรอลเป็นวัตถุดิบให้ร่างกายผลิตน้ำดี

  • คอเรสเตอรอลเป็นสารเริ่มต้นในการสังเคราะห์วิตามิน ดี ในการเสริมสร้าง
    กระดูกเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน

  • คอเรสเตอรอลเป็นสารที่นำไปใช้ผลิตฮอร์โมนเพศในร่างกาย เช่น ฮอร์โมน
    Cortisol และ
    Cortisol และAldosterone สำหรับต่อมอะดรินัสฮอร์โมน Testosterone และ Estrogen

  • คอเรสเตอรอลทำหน้าที่เป็นฉนวนป้องกันเส้นใยประสาท

คอเรสเตอรอล ไม่ใช่ไขมัน

แม้ว่าคอเรสเตอรอลจะเป็นสารคล้ายไขมันแต่ไม่ใช่ไขมันเพราะว่าคอเรสเตอรอล
เป็นสาร
ที่ไม่ให้พลังงานและไม่มีแคลอรี่ โดยไขมันจริงๆนั้น จะให้พลังงานปริมาณ 9 แคลลอรีต่อกรัม

คอเรสเตอรอล เป็นตัวร้ายจริงหรือไม่

โดยปกติแล้วคอเรสเตอรอลจะไม่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้เองแต่จะอาศัยสิ่งที่เรียกว่า
ไลโปรตีน 
เป็นตัวพาเข้าสู่กระแสเลือดโดยไลโปโปรตีนคือสารประกอบของโปรตีนกับไขมัน
โดยจะมีอัตรา
ส่วนมากน้อยต่างกันๆ หากปริมาณไขมันมากกว่าโปรตีนจะทำให้ไลโปรตีนมีความหนาแน่นต่ำ

นอกจากนี้ยังมีไตรกลีเซอไรที่รวมอยู่ในไขมันที่ไม่ดีเนื่องจากไตรกลีเซอไรเป็นอนุภาคไขมันหนึ่ง
ที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นในตับมีขนาดบางเบาและเล็กมาก มีหน้าที่ให้เป็นสารตั้งต้นในการสร้างเยื่อหุ้มเซลล์
และเป็นสารสำคัญในการสร้างเซลล์ไขมันในร่างกายเช่น ทำหน้าที่ให้ความอุ่นในร่างกาย
และให้พลังงานแก่ร่างกาย

โดยปกติแล้วร่างกายจะสร้างไตรกลีเซอไรด้วยตัวเองด้วยตับและลำไส้เล็ก แต่หากมีปริมาณมาก
เกินไป เช่น จากการรับประทานอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลมากเกินไป ร่างกายจะเก็บเอาไว้ตาม
เนื้อเยื่อไขมัน แล้วทำเกิดไขมันพอกตามร่างกายต่างๆของเรา รวมถึงเสี่ยงต่อการเกิด
โรคหลอดเลือดหัวใจ
ขาดเลือด เส้นเลือดแดงแข็งตัว ความดันเลือดสูงขนาดของเส้นเลือดตีบลง
ระบบประสาท
ทำงานผิดปกติ

ส่วนไขมันดี หรือ HDL เป็นไขมันความหนาแน่นสูงทำหน้าที่ขนส่ง คอเรสเตอรอล และกรดไขมัน
จากส่วนต่างๆของร่างกายไปที่ตับเพื่อทำลายและขับออกทางน้ำดี ไขมันชนิดนี้เป็นผลดีต่อหลอดเลือด
พบได้จากน้ำมันปลาทุกชนิด โดยเฉพาะปลาทะเลน้ำลึกถั่วและเมล็ดพืช

 
ระดับคลอเลสเตอรอลเหมาะสม

โดยค่าคลอเลสเตอรอลที่เหมาะสมควร
มีค่าดังต่อไปนี้

 
ค่า LDL หรือค่าไขมันไม่ดี

  • ค่า LDL หรือค่าไขมันไม่ดี โดยปกติไม่ควรเกิน 120 mg/dl

  • ในกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือเบาหวาน
    ควรน้อยกว่า 100 mg/dl กรณีความเสี่ยงสูง

    ไม่ควรเกิน 70 mg/dl

  • ในกรณีผู้ที่ป่วยโรคหัวใจและเบาหวาน
    แต่มีปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด

    ระดับ LDL ควรน้อยกว่า 130 mg/dl

  • ในกรณีผู้ที่ป่วยโรคหัวใจและเบาหวาน แต่มีปัจจัย
    ของโรคหัวใจขาดเลือด น้อยกว่า 2 ข้อ ระดับ LDL

    ควรน้อยกว่า 160 mg/dl

  • ค่า ไตรกลีเซอไรด์ ปกติไม่ควรเกิน 160 mg/dl

  • ค่า HDL ควรมากกว่า 40 mg/dl

โดยปกติแล้วค่าของคอเลสเตอรอลที่เหมาะสมไม่ควร 200 mg/dl แต่ความจริงคือการที่ค่า
คอเลสเตอรอลสูงกว่าเกินไปอาจต้องมาพิจราณาในรายละเอียดในแต่ละค่าของไขมันแต่ละชนิด
ไม่ว่าจะเป็น ค่า LDL ค่า HDL และค่าไตรกลีเซอไรแม้ว่าค่าคอเลสเตอรอลจะสูงเกิน 200 แต่ค่า
HDL สูง และค่า LDL และไตรกลีเซอไร น้อยก็ยังถือสุขภาพปกติ

 
ภาวะคอเลสเตอรอลสูงเกิดจาก
สาเหตุใดได้บ้าง

  • การทานอาหาร จำพวกไขมันในปริมาณสูงโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์

  • น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นและเกินมาตรฐาน พบว่าระดับของไตรกลีเซอไรด์ที่สูงอาจมีผลต่อโรคหัวใจ

  • อายุ และเพศ เมื่ออายุเพิ่มขึ้นระดับไขมันจะเพิ่มผู้หญิงก่อนวัยหมดประจำเดือนจะมีระดับไขมัน

  • รวมน้อยกว่าเพศชายในวัยเดียวกัน

  • พันธุกรรม

  • ปัญหาสุขภาพ เช่น ภาวะขาดไทรอยด์โรคตับ และโรคไต

  • การใช้ยาบางชนิด เช่น การใช้สเตียรอยด์ยาขับปัสสาวะและโปรเจสเตอรอล

วิธีปฎิบัติ ในการลดไขมันที่ไม่ดี
 
  • รับประทานอาหารให้เหมาะสม

  • หันมารับประทานประเภทนึ่ง ต้ม แทน

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่าง

  • น้อยวันละ 30 นาที 3 ถึง 5 วันต่อสัปดาห์
  • ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่มี

  • ไขมันอิ่มตัวเช่น เครื่องในสัตว์ หอยนางรม

  • งดประเภททอด

  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์

  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

  • งดสูบบุหรี่

    ที่มา
    spo.moph.go.th
    pca.fda.moph.go.th
ติดต่อเรา

      

www.mfuhospitalbkk.com

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพมหานคร
38/11-13 อาคารอโศกเพลส ถนนอโศก สุขุมวิท 21
แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา
กรุงเทพฯ 10110 โทร.02-664-4360

Visitors: 305,722