แผลคีลอยด์รักษาอย่างไร
แผลคีลอยด์รักษาอย่างไร
แผลคีลอยด์ เป็นปัญหาสำหรับใครหลายคนแม้ว่าจะไม่มีอันตรายถึงชีวิต แต่มีผลต่อบุคลิกภาพและ
ความสวยงาม อาจจะมีอาการรู้สึกเจ็บ คัน ระคายเคือง อยู่บ้างนิดหน่อย
วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับแผลคีลอยด์รวมถึงวิธีการรักษาและวิธีป้องกันเพื่อ
ลดอาการการเกิดคีลอยด์กันค่ะ
แผลคีลอยด์เกิดจากอะไร
คีลอยด์เป็นภาวะที่เนื้อเยื่อที่เจริญเติบโตมากกว่าปกติ โดยจะมีลักษณะนูนและขนาดใหญ่
กว่ารอยแผลที่เกิดขึ้น
สาเหตุของแผลคีลอยด์
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด เชื่อว่า มีปัจจัยจากพันธุกรรม เชื้อชาติ แล้วก็อายุ
โดยทั่วไปเมื่อร่างกายเกิดบาดแผลร่างกายจะรักษาบาดแผลตามธรรมชาติโดยการสร้าง
เนื้อเยื่อและคอลลาเจนขึ้นมาซ่อมแซมบริเวณบาดแผลและยุบตัวลง ตรงข้ามกับ
แผลคีลอยด์แผลจะค่อยขยายขนาดใหญ่และนูนขึ้นกว่ารอยแผลเดิม
คีลอยด์สามารถเกิดจาก แผลจากไฟไหม้แผลอีสุกอีใส หรือในบางราย
อาจเกิดจากรอยข่วนเพียงเล็กน้อย
คีลอยด์เกิดกับใครได้บ้าง
คีลอยด์เกิดขึ้นได้กับทุกคนโดยจะอยู่ในช่วง10 - 30 ปี พบว่าผู้ป่วยที่เป็นแผลคีลอยด์
มักจะสมาชิกในครอบครัวเป็นคีลอยด์มาก่อน
อาการของคีลอยด์
เป็นก้อนนูนที่ผิวหนัง และขยายขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไปลักษณะเป็นมันเงา
ไม่มีขนขึ้นบนคีลอยด์ ในช่วงแรกอาจมีสีแดง หรือม่วง เมื่อผ่านไปจะค่อยเปลี่ยนเป็น
สีคล้ำหรือซีดลง จะมีอาการเจ็บหากแผลเกิด บริเวณข้อพับ หากเกิดที่บริเวณอื่นก็จะไม่มี
อาการเจ็บปวดใด เมื่อถูกแสงแดดอาจมีสีคล้ำลงกว่าผิวบริเวณรอบๆ
วิธีการรักษาคีลอยด์
คีลอยด์แม้ว่าจะไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่อาจสร้างรำคาญใจ หรือมีอาการเจ็บเล็กน้อย ซึ่งใน
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด แต่อาจจะช่วยให้แผลดูดีขึ้นหรือมีอาการเจ็บน้อยลง
โดยแพทย์อาจมีการรักษาหลายๆวิธีควบคู่กันไป ดังต่อไปนี้
การผ่าตัด
เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เป็นวิธีผ่าเอาผิวหนังส่วนที่เป็นแผลคีลอยด์ออกไป วิธีนี้ถือเป็นวิธีที่มี
ความเสี่ยงสูง เพราะอาจทำให้แผลนูนขึ้นมาอีกหรือ อาจใหญ่กว่าเดิม ปกติแล้วหลังผ่าตัด
แพทย์จะใช้แผ่นผ้าหรือแผ่นซิลิโคนแปะลงบนแผลเพื่อกดแผลไว้ ประมาณ 12 - 24 ชั่วโมง
การใช้เลเซอร์
การใช้เลเซอร์รักษาแผลคีลอยด์ เป็นเลเซอร์ประเภทที่อ่อนโยนต่อผิว ซึ่งมีคุณสมบัติช่วย
ให้แผลเรียบเนียนขึ้น แต่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
การใช้เจลหรือแผ่นซิลิโคนลดแผลเป็น
เป็นวิธีการรักษาที่ใช้เวลาค่อนข้างนานโดยเป็นการใช้แผ่นซิลิโคนเจล
แปะลงบนคีลอยด์ การใช้แผ่ผ้าแปะกด ช่วยทำให้แรงกดและ
ป้องกันไม่ให้สัมผัสกับอากาศ วิธีใช้โดยการปิดไว้ที่บริเวณแผลวันละ 12 -24 ชั่วโมง
จนกระทั่งถึงเวลาหลายสัปดาห์
การรักษาด้วยความเย็นจัด
ใช้สำหรับแผลขนาดเล็ก โดยเป็นการให้คีลอยด์ได้สัมผัสกับความเย็นสูงจากไนโตรเจนเหลว
การรักษาวิธีนี้อาจใช้วิธีควบคู่กับการใช้ การฉีดสเตียรอยด์ ซึ่งจะช่วยให้คีลอยด์
จะช่วยยุบลงได้ หากได้รับการรักษาช่วงระยะ แรกอาจสามารถหยุดการเจริญเติบโต
ของคีลอยด์ได้
ฟลูออโรยูราซิลและบลีโอมัยซิน ยา 2 ชนิดนี้เป็นยาต้านมะเร็ง แต่อาจนำมาชะลอการ
ก่อตัวของคีลอยด์ได้เช่นกัน โดยอาจควบคู่กับการฉีดสเตียรอยด์ได้ แต่มีผลข้างเคียง
คือทำให้เกิดอาการเจ็บที่บริเวณคีลอยด์ และสีผิวซีดลง
การป้องกันคีลอยด์
การป้องกันคีลอยด์นั้น ส่วนใหญ่จะเป็น การป้องกันตัวเองไม่ให้มีแนวโน้มที่จะให้
ตัวเองเกิดบาดแผล ไม่ว่าจะเป็นการสักตาม จุดต่างๆในร่างกาย การเจาะหู การผ่าตัดต่างๆ
ซึ่งในบางกรณีเป็นไปได้ยาก ดังนั้น ควรรีบทำ การรักษาอย่างทันที ซึ่งอาจทำได้โดย
มีวิธีการต่างๆดังต่อไปนี้
ปิดแผลเมื่อเกิดแผล
ทำได้โดยการใช้วาสลีน ตามด้วยผ้าพันแผลปิดทับอีกที จากนั้นใช้ผ้าเทปหรือผ้าพันแผล
กดทับไว้อีกที โดยทำด้วยความสะอาดทุกขั้นตอน
ใช้แผ่นเจลซิลิโคนแปะหลังจากแผลหายดีแล้ว
วิธีนี้เป็นการป้องกันการเจริญเติบโตของแผลโดยควรทำวันละ 12 - 24 ชั่วโมงต่อวัน
เป็นระยะเวลา 2 -3 เดือนนี้ ทั้งนี้ เนื่องจากระยะเวลาการเกิดคีลอยด์จะอยู่
ที่ประมาณ 3 เดือน
ปกป้องแผลจากแสงแดด
ทำได้โดยการใช้ผ้าหรือพลาสเตอร์ หรือทาครีมกันแดดปกป้องแผล โดยต้องทำเป็นระยะเวลา
6 เดือนหลังจากเกิดแผลหรือการผ่าตัด หากเป็นเด็กอาจต้องทำเป็นระยะประมาณ 18 เดือน
นอกจากนีัอาจใช้ครีมอิมิควิโมดทาหลังการผ่าตัด เพื่อป้องกันการเกิดคีลอยด์